“โซลาร์เซลล์” ไม่ได้เป็นแค่พลังงานไฟฟ้า แต่ยังเป็นพลังงานขับเคลื่อนความสามัคคีในชุมชน

“โซลาร์เซลล์” ไม่ได้เป็นแค่พลังงานไฟฟ้า แต่ยังเป็นพลังงานขับเคลื่อนความสามัคคีในชุมชน พลังบริสุทธิ์ ที่สามารถขับเคลื่อนชีวิตให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีจุดมุ่งหมาย
ในประเทศไทยนั้น ยังมีอีกหลายพื้นที่ ที่พลังงานยังไม่สามารถเข้าถึง จึงทำให้การพัฒนาของชุมชน ยังคงมีความค้างคา ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างของบริบททางสังคม ให้รับความศิวิไลซ์ได้อย่างเต็มรูปแบบ แม้แต่พลังงานขับเคลื่อนชีวิตที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ก็ไม่มีความสมบูรณ์แบบ เมื่อไม่มี “พลังงาน” ที่เป็นเมื่อหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย คล้ายกับการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งต่อไปยังบ้านเรือนของประชากรในแหล่งนั้นๆ
เนื่องด้วยความไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ในการสร้างโครงการพัฒนาของหน่วยงานรัฐ หรือว่า พวกเขานั้นอยู่นอกวิสัยทัศน์ ที่คนทั่วไปจะมองเห็น จนกลายเป็นผู้ถูกลืม…
แต่ถ้ามองกลับกัน เมื่อไม่มีการส่งพลังงานไฟ ก็สามารถก่อเกิดพลังงานใจ ที่พร้อมจะต่อสู้ในการแสวงหาหนทางพัฒนาบ้านเกิด แสวงหาพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งที่ชาวบ้านในชุมชน สามารถเข้าถึงได้ และยังเป็นพลังงานที่ถนอมวิถีชีวิต ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของชุมชน ให้คงอยู่ซึ่งความบริสุทธิ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเจริญ และความเพียบพร้อมในสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยของชุมชน การแพทย์ การศึกษา รวมไปถึงเศรษฐกิจของชุมชน และนี่ก็คือตัวอย่างของชุมชนที่ผลิต “พลังงานไฟ” ด้วย “พลังงานใจ” จากความสามัคคี ของคนในชุมชน
ชุมชนเกาะจิก เกาะห่างไกล ผู้ผลิตพลังงานไฟจากฟ้า
เกาะเล็กๆที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ ทางฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นหนึ่งพื้นที่ที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ มีการบันทึกถึงเรื่องราวการตั้งแหล่งอาศัยของผู้คน ที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งส่วนมากคือชาวบ้านจากตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด และ ชาวจีนโพ้นทะเล ที่ล่องสำเภามาหาชีวิตใหม่ บนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 แต่กลับกัน ถึงประวัติศาสตร์จะบอกเล่าชีวิตชาวเกาะมากว่า 100ปี พื้นที่แห่งนี้ ก็ยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้ในการดำรงชีวิต ชาวบ้านเคยรวมตัวกันเพื่อเสนอการพัฒนาระบบไฟฟ้าจากแผ่นดินใหญ่ แต่ได้รับคำตอบจากหน่วยงานรัฐว่า ไม่สามารถวางสายเคเบิลใต้น้ำส่งไฟฟ้ามา หลังจากมาสำรวจใน พ.ศ. 2540 แล้วพบว่า ดำเนินการไม่ได้ เนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน
ชาวบ้านเกาะจิกจึงเป็นชุมชนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ แสงสว่างยามค่ำคืนก็มีได้จากแรงไฟของตะเกียงน้ำมัน หรือ ตะเกียงเจ้าพายุ และถ้าบ้านไหนมีความจำเป็นในการใช้ไฟฟ้าหน่อย ก็จะต้องลงทุนในการจัดซื้อเครื่องปั่นพลังงานน้ำมันดีเซล แต่เมื่อถึงช่วงที่น้ำมันขึ้นราคา ก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนสำหรับชาวบ้านที่ต้องใช้ทุนทรัพย์ในการดำรงชีวิต จึงเป็นที่มาของการรวมพลังเปลี่ยนแปลงชุมชนครั้งใหญ่ ด้วยพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์
ด้วยพลังความสามัคคีของชาวบ้าน จึงเริ่มการดำเนินแผนของบประมาณ จากกระทรวงพลังงาน เพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่งนักวิจัยมาช่วยสำรวจความเป็นไปได้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และในปี พ.ศ. 2547 ได้เริ่มต้นระบบโซลาร์เซลล์กำลังผลิต 7.5 กิโลวัตต์ เพื่อใช้สูบน้ำ เพื่อใช้กับระบบประปาหมู่บ้าน ผสมผสานกับพลังงานจากเครื่องปั่นไฟ เพื่อเป็นพลังงานหลักแจกจ่ายให้คนทั้งเกาะ และพัฒนาเปลี่ยนการผลิตพลังงานมาเป็นโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้นถึง 40 กิโลวัตต์ และเมื่อพลังงานไฟฟ้ามาจากพลังงานใจไฟจากฟ้า ชาวบ้านก็สามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เปลี่ยนจากเครื่องปั่นในพลังงานดีเซล มาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ชาวบ้านก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2,000 – 3,000 บาท ที่สำคัญ ยังลดมลภาวะในชุมชน ทั้งมลภาวะทางเสียงของเครื่องปั่นไฟ และมลภาวะทางอากาศจากเครื่องยนต์ดีเซลอีกด้วย
ภาพจาก © Roengchai Kongmuang
ปัจจุบัน เกาะจิกเป็นพื้นที่ปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการประกาศห้ามใช้พาหนะที่ใช้น้ำมันเดินทางภายในเกาะ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ เปลี่ยนมาเป็นการเดินเท้าหรือขี่จักรยานแทน ลดการปล่อยมลภาวะและโลกร้อน และยังส่งเสริมให้เรือประมง 40 ลำติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนดาดฟ้าเรือ ในการส่องสว่างและเพื่อเป็นแรงขับเครื่องสูบน้ำออกจากเรืออีกด้วย
ทั้งนี้ในอนาคต ชาวเกาะจิกยังตั้งเป้าให้เกาะเล็ก ๆ แห่งความสุขนี้ กลายเป็นชุมชนแห่งการลดภาวะโลกร้อนและชุมชนอนุรักษ์พลังงานอย่างแท้จริง จนบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก มาทำสัญญารับซื้อ Carbon Credit จากของเกาะแห่งนี้ เป็นสัญญาระยะยาวถึง 15 ปี และที่สำคัญ รายได้จาก Carbon Credit ก็นำมาลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าต่อครัวเรือนได้ ทำให้เกาะแห่งนี้ เป็นต้นแบบของการรักษ์โลก ด้วยพลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
และนอกจากเกาะจิกแล้ว ยังมีอีกหลายหมู่บ้านประเทศไทย ที่หันมาใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์ในการขับเคลื่อนชีวิตทั้งจากอุปสรรค์ของความห่างไกลความเจริญ หรือ การพัฒนาแนวคิดของคนในชุมชนให้หันมาสนใจความสำคัญของแหล่งที่มาของพลังงาน อาทิเช่น
หมู่บ้านป่าเด็ง ชุมชนกลางป่าใหญ่
หมู่บ้านเก่าแก่ กลางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พื้นที่ที่ไม่สามารถพัฒนาระบบไฟฟ้า และน้ำประปาได้ ด้วยกฎของอุทยาน ทำให้ชาวบ้านดั้งเดิมที่อาศัยอยู่จะต้องดิ้นรนในการแสวงหาทรัพยากรณ์พลังงานด้วยตัวเอง และโซลาร์เซลล์ก็คือหนึ่งในต้นทางพลังงานสะอาด ที่ชาวบ้านเลือกใช้ รวมถึงการใช้ของเหลือใช้จากกิจกรรมดำรงชีวิต ที่เป็นเศษซากชีวภาพ มาทำการผลิตเป็นแก๊สชีวภาพ ใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน
ภาพจาก © คนบันดาลไฟ
ลันตาโมเดล เศรษฐกิจชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด
เกาะลันตา เป็นเกาะขนาดใหญ่ ที่อยู่ปลายสุดของสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทั้งๆที่เป็นเกาะเศรษฐกิจ เพราะมีบริการด้านการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาใช้บริการ แต่กลับกันเกาะลันตาเองก็มีปัญหาเรื่องพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพราะว่าการที่เป็นปลายทางของพลังงานไฟฟ้า ทำให้ความต่อเนื่องในใช้ไฟนั้นไม่เสถียร เกิดไฟตก และไฟดับบ่อย ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจึงรวมกลุ่มกันสร้างลันตาโมเดล แนวทางให้ชาวบ้านและธุรกิจอื่นๆ หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่ร้านค้าขนาดเล็ก มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต จนไปถึงธุรกิจรีสอร์ทขนาดใหญ่ และคาดหวังให้เกาะลันตา กลายเป็นเมืองหลวงของโซลาร์เซลล์ของประเทศไทย ในอนาคต
ภาพจาก © Roengchai Kongmuang
ยังมีอีกหลายแห่งในประเทศไทย ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากพลังงานแสงอาทิตย์ “โซลาร์เซลล์” ที่สามารถเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่ สร้างความคุ้มค่าในต้นทุนการผลิต สร้างรายได้ที่มากขึ้นให้ชุมชน เราเปลี่ยนมาใช้โซลาเซลล์กันนะครับ แล้วเพื่อนๆจะพบว่า มันคุ้มค่ามากกว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพราะยังร่วมถึงการช่วยโลกให้พ้นจากภาวะโลกเดือน ลดมลภาวะในอากาศ เพื่อตัวคุณเอง และคนที่คุณรัก\
มาร่วมก๊วนหิวแสงกับเรา เพราะว่าเราอยากได้เพื่อนร่วมก๊วนจำนวนมาก เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ในราคาที่ลดลง ถูกกว่าท้องตลาด คิดถึงพลังงานรักษ์โลกจากโซลาร์เซลล์ คิดถึงก๊วนหิวแสง รวมพลังซื้อโซลาร์ ถูกกว่า คุณภาพชัวร์ ขออนุญาตครบ จบทุกหลังคา